Last updated: 14 มี.ค. 2567 | 6956 จำนวนผู้เข้าชม |
คุณหมอวิทวัส และ คุณหมอธนา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ ประจำ MRC
แนะนำว่าในชีวิตประจำวัน เราอาจไม่สามารถเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือได้ แต่เราควรเปลี่ยนท่าทางให้เหมาะสม
พร้อมปรับลดเวลาการใช้งาน ไม่ใช้โทรศัพท์ติดต่อกันนานจนเกินไป เพราะการใช้โทรศัพท์มือถือผิดท่า
ส่งผลให้หลายคนก้มคอเป็นเวลานานโดยไม่รู้ตัว นั่งไหล่ห่อหรือหลังค่อม
ทำให้ปวดคอและบ่า สะบัก ปวดหลัง ไปจนถึงปวดศีรษะ
นอกจากนี้ คุณหมอยังให้คำแนะนำท่าทางที่ถูกต้องสำหรับใช้งานโทรศัพท์
เพื่อเลี่ยงหรือลดปัญหาและอาการปวดตามกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ
-----------------------------------------------------------------
ท่าใช้โทรศัพท์แบบนี้อาจเป็นท่าทางที่หลายคนถนัด แต่เป็นพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวดคอและช่วงสะบัก
ไปจนถึงหลัง ซึ่งอาจส่งผลให้ปวดตามข้อบริเวณมือ ไปจนถึงชาตามนิ้ว เพราะเลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ
คำแนะนำจากคุณหมอ คือ ขณะใช้โทรศัพท์ควรนั่งหลังตรง ยืดคอตรง หากมีโต๊ะด้านหน้า
ควรตั้งข้อศอกไว้บนโต๊ะ และยกโทรศัพท์มือถือให้อยู่ในระดับสายตา เลี่ยงการถือด้วยมือข้างเดียว
และไม่ควรใช้ติดต่อกันนานจนเกินไป ควรขยับหรือเปลี่ยนท่าทางสม่ำเสมอ
-----------------------------------------------------------------
การนอนหงายเล่นสมาร์ทโฟนอาจเป็นท่าที่หลายคนรู้สึกสบายในช่วงแรก
แต่จริงๆ แล้วเป็นพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะนอกจากหน้าจอไม่ได้รับแสงสว่างจากไฟอย่างเต็มที่
เราต้องก้มหน้าและเกร็งคอจ้องมองหน้าจอ ซึ่งอาจทำให้ปวดคอไล่ไปจนถึงช่วงไหล่และบ่า
รวมทั้งอาการปวดชาตามแขนได้ เพราะกล้ามเนื้อคอด้านหลังถูกยืดและเกร็งมากกว่าปกติ และยังถูกกดทับจากการนอนด้วย
คำแนะนำจากคุณหมอ คือ ให้เลี่ยงการนอนเล่นโทรศัพท์ในลักษณะนี้
หรือหาหมอนมารองศีรษะหนุนให้คอตั้งตรงสูงขึ้น ทำให้ไม่ต้องก้มหรือเกร็งคอมากเกินไป
หากรู้สึกปวดเมื่อยตามแขน เพราะต้องเกร็งถือโทรศัพท์ ให้หยุดพักและเหยียดแขนหรือเปลี่ยนท่าทาง
-----------------------------------------------------------------
เมื่อเราถือสมาร์ทโฟนด้วยมือข้างเดียว ทำให้ต้องงอมือและนิ้วโดยอัตโนมัติ
ซึ่งหากมีพฤติกรรมนี้เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการเมื่อยหรือปวดตามข้อมือและข้อนิ้วได้
หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดปัญหาผังพืดตามนิ้ว เพราะเส้นประสาทถูกบีบรัดนานเกินไป
จนนิ้วล็อกเกร็งและไม่สามารถเหยียดนิ้วได้ตรง
คำแนะนำจากคุณหมอ คือ ใช้มือข้างหนึ่งถือสมาร์ทโฟน
โดยพยายามงอนิ้วหรือมือให้น้อยที่สุด และใช้นิ้วมืออีกข้างหนึ่งเป็นตัวสัมผัสหรือเลื่อนหน้าจอ
ไม่ควรใช้นิ้วโป้งข้างเดียวกันเป็นนิ้วสไลด์หน้าจอ เพราะอาจทำให้นิ้วทุกนิ้วเกิดอาการเกร็งและนิ้วล็อกได้
และควรพักการเล่นโทรศัพท์ทุก 15 นาที
-----------------------------------------------------------------
ส่วนคนที่มีปัญหาหรือบาดเจ็บจากพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือแบบผิดสะสมมานาน
ลองเข้ามาปรึกษาและรักษากับคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มีประสบการณ์มายาวนาน 20 ปี
โดยคุณหมอทำงานร่วมกับนักกายภาพบำบัด ซึ่งทำให้การตรวจวินิจฉัย
การวางแผนการรักษาและฟื้นฟูมีประสิทธิภาพและตรงจุด
ตามปณิธานของ MRC ที่อยากให้ผู้ใช้บริการทุกคนสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขกับคนที่รัก
MRC คิดค่าบริการเริ่มต้น 900 บาท
===================================
ติดต่อ MRC ได้ที่
064-259 0302 , 097-214 3175
Line @mrccenter
Website : https://www.mrc.in.th/
18, 74/56 ซอยนวมินทร์ 85 ถนนนวมินทร์ แขวงนวมินทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ
Google map : https://maps.app.goo.gl/3ZhTe4NrNeRosrwy6
15 มี.ค. 2567
16 มี.ค. 2567
8 เม.ย 2567