Orthopedic Specialist Clinic

คลินิกเฉพาะทางกระดูกและข้อ Medical Revitalized Center รักษาโรคกระดูก
ข้อ เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ โรคกระดูกสันหลังทุกประเภท และการดูแลทางเวชศาสตร์การกีฬา โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา ทั้งศัลยแพทย์กระดูกและแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและฝังเข็ม ให้บริการรักษาผู้ป่วยทั่วไปที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบโครงร่างของกระดูก การตรวจวินิจฉัย รวมไปถึงการรับปรึกษาปัญหา เกี่ยวกับกระดูกและข้อ เพื่อความสะดวกสบายไม่ต้องรอคิวนาน เหมือนอยู่โรงพยาบาล แค่มาหาเรา MRC คลินิกเฉพาะทางกระดูกและข้อของเราพร้อมที่จะรักษาทุกท่าน ให้ MRC ดูแลคุณ

OUR SPECIALITY
นพ. วิทวัส เจนบุญไทย
ศัลยแพทย์กระดูก
ผู้เชี่ยวชาญการรักษากระดูก
  • เฉพาะทางต่อยอดด้านมือ - จุลศัลยกรรมทางมือเชี่ยวชาญด้าน มือ ข้อมือ นิ้ว และเส้นประสาท
  • เฉพาะทางต่อยอดด้านเวชศาสตร์การกีฬา ส่องกล้องข้อเข่า ข้อมือและข้อหัวไหล่ ที่ปรึกษาด้านการบาดเจ็บทางมือ
  • การกีฬาแห่งประเทศไทย และแพทย์ประจำทีมวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ประสบการณ์ดูแลนักกีฬามากกว่า10 ปี

 
นพ. ธนา บูรณพันธฤกษ์
ศัลยแพทย์กระดูก เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ ผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดส่องกล้อง
  • แพทย์ประจำทีมฟุตบอลใน Thai Premier League
  • ประกาศนียบัตรด้านการแพทย์สำหรับกีฬา และการผ่าตัดกระดูกและข้อจากเกาหลี มีประสบการณ์ผ่าตัดส่องกล้องมานานกว่า 10 ปี

 
นพ. ปืนไทย เทพมณฑา, MD.
แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
และแพทย์ฝังเข็ม
  • ฟื้นฟูสมรรถภาพระบบประสาท (Neurorehabilitation)
  • ฟื้นฟูสมรรถภาพระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (Orthopaedic Rehab & MSK pain)
  • ฟื้นฟูสมรรถภาพนักกีฬาที่ได้รับการบาดเจ็บ
  • ฝังเข็มรักษาโรคและปรับสมดุลสุขภาพ


เกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นมากกว่า 40 องศาเซลเซียส ร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกายได้ เกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป สาเหตุเนื่องจากร่างกายเราถูกแสงแดดมากเกินไป หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่อากาศร้อนอบอ้าว เมื่อเกิดอาการควรได้รับการรักษาในทันที เพราะอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อหัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ

Qdenga® (TAK-003) เป็นวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกตัวใหม่ ซึ่งเป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็นที่ทำให้อ่อนฤทธิ์ ผลิตโดยใช้เทคโนโลยีนำชิ้นส่วนของไวรัสเดงกี่ทั้ง 4 สายพันธุ์ มาใส่ในแกนของไวรัสเดงกี่เอง วัคซีนนี้จะออกฤทธิ์โดยเชื้อไวรัสที่อ่อนฤทธิ์ไปแบ่งตัวและกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสเดงกี่ที่ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก

เกณฑ์การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน กระดูกสันหลังหรือกระดูกสะโพกหักจากอุบัติเหตุไม่รุนแรง มีค่า T-score น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2.5 ที่กระดูกสะโพก เอว หรือ ข้อมือมีค่า T-score ระหว่าง -1 และ -2.5 ร่วมกับความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกสะโพกหักในช่วงเวลา 10 ปี ซึ่งประเมินโดย Fracture Risk Assessment Tool ( FRAX) ของประเทศไทยมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 3 มีค่า T-score ระหว่าง -1 และ -2.5 ร่วมกับ มีกระดูกหักตำแหน่ง ต้นแขน ปลายแขน หรือเชิงกรานจากอุบัติเหตุไม่รุนแรงหมายเหตุต้องตรวจด้วยเครื่อง central dual energy x ray absorptiometry (DXA) มาตรฐานเท่านั้นอุบัติเหตุไม่รุนแรงหมายถึง กระดูกหักที่เกิดจากการตกจากระดับความสูงที่ไม่เกินความสูงของผู้ป่วย

เนื่องจากความเสื่อม และความชราเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาสุขภาพ จะดีกว่าไหม ถ้าเราสามารถชะลอวัย หรือชะลอความเสื่อมด้วยการเติม NAD เข้าสู่ร่างกายโดยตรงผ่านทางหลอดเลือดดำได้โดยตรง ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่สามารถบำรุงและเพิ่มประสิทธิภาพของสมอง ฟื้นฟูระบบต่างๆ ของร่างกาย ส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึงสุขภาพในภาพรวมด้วย

การฉีดสเตียรอยด์นั้นสามารถบรรเทาอาการปวดหลังหรือปวดร้าวลงขาได้ โดยจะเป็นการฉีดเข้าโพรงประสาทในผู้ป่วยที่เป็นหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมหรือเส้นประสาทถูกกดทับ ซึ่งจะได้ผลดีมากในผู้ป่วยที่มีอาการปวดระยะ 1-3 เดือน

กระดูกพรุน เป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อม หรือบางลงของกระดูก เนื่องจากสูญเสียแคลเซียม ส่งผลให้กระดูกเปราะ หรือหักได้ง่าย โดยทั่วไป มักเข้าใจว่าเกิดกับผู้หญิงเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว ผู้ชายก็เป็นโรคนี้ได้เช่นกัน

ภาวะกระดูกสันหลังยุบจากโรคกระดูกพรุนส่วนใหญ่มักเกิดในผู้สูงอายุเพศหญิง อายุ 60 ปีขึ้นไป

MRC บริการฟื้นฟูดูแลสุขภาพแบบมืออาชีพ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้